FTI Knowledge Sharing Vol.28 ธุรกิจความเชื่อไทย โอกาสที่น่าสนใจของ SME Estimated reading: 1 minute 178 views 🌠ธุรกิจความเชื่อของไทยโตต่อเนื่อง 5 ปี โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z โดยนิติบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมสายมู (โหราศาสตร์และความเชื่อศรัทธา) ปัจจุบันมีอยู่จำนวน 154 ราย (โดยข้อมูล ณ 31 กรกฎาคม 2567) เกือบทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยสามารถทำรายได้ 227.89 ล้านบาท ขยายตัว 52.92% จากงบปี 2565 โดยเปลี่ยนความเชื่อความศรัทธาให้กลายเป็นสินค้าและบริการ🕯️ธุรกิจสายมูแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ วัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง, สัตว์เลี้ยงและต้นไม้มงคล, ของใช้มงคล, การท่องเที่ยวสายมู, บริการสื่อออนไลน์สายมู, และอื่นๆ เช่น การสักยันต์💵สินค้าและบริการด้านความเชื่อในปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมาก ทั้ง พระเครื่อง, เครื่องประดับสายมู, เทียนหอมบูชาเทพ, เครื่องสำอางเมตตามหานิยม, คอนแทคเลนส์สายมู, และสินค้าประเภทเคสโทรศัพท์หรือวอลเปเปอร์เสริมดวง🏮ในส่วนของการส่งออกพระพุทธรูปไทย ในเดือนม.ค.-ก.ค. 67 มีมูลค่า 2.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งออกไปประเทศอินเดียมากที่สุด มีมูลค่า 718,736 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 41.11% YoY รองลงมาเป็นสหรัฐฯ มีมูลค่า 507,097 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 10.61% YoY และประเทศมาเลเซีย มีมูลค่า 267,284 ดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวถึง 1,931.03% YoY ตามลำดับ🪄ธุรกิจความเชื่อการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาถือเป็นรายได้สำคัญสำหรับไทย สามารถกระจายรายได้สู่ธุรกิจอื่นๆ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่น จึงถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับ SME ที่จะเข้ามาเรียนรู้และช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจนี้ต่อไป Next - FTI Knowledge Sharing Vol.27 Temu แอปจีนบุกไทย สนามรบใหม่ของ SME ไทย